
ชีวมวล (Biomass) เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์และสามารถ นำพลังงานที่กักเก็บไว้เหล่านั้น มาใช้ผลิตพลังงานได้ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานได้แก่ เศษไม้ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น
กระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็พลังงาน
โดยผ่านกระบวณการ 2 แบบ คือ
1.การเผาไม่โดยตรง(Direct combustion)
การเผาไม่โดยตรง วิธีถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ ในการหุงต้มอาหาร หรือการต้มน้ำผลิตไอน้ำเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักร
2.การเผาไหม้ในสภาพอากาศ (Pyrolysis)
การเผาไหม้ในสภาพอับอากาศมี 3 วิธีคือ
1.แก๊ส ผ่านกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง
เรียกว่า แก๊สชีวภาพ (biogas)
2.ของแข็ง ผ่านกระบวนการเผ่าถ่าน
ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์ในการหุงต้มแล้ว ยังสามารถดูดกลิ่นได้ด้วย
3.ของเหลว ผ่านกระบวนการ
ผลิตน้ำมันดิบชีวภาพ ซึงสามารถนำไปใช้เป็นดีเซลได้
องค์ประกอบของชีวมวลที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้า
1.การกระจายตัวของชีวมวล: หากชีวมวลมีการกระจัดกระจายตัวในการเพราะปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะมีต้นทุนในการขนส่งชีวมวลเพิ่มขึ้น
2.ขนาด : ถ้าชีวมวลมีขนาดใหญ่เกินไป ประสิทธิภาพการเผาไหม้จะต่ำจึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการย่อยเพิ่มขึ้น
3.ความชื้น : ชีวมวลบางชนิดมีความชื้นสูงมาก เช่น กากมันสำปะหลัง หรือส่าเหล้าต้องมาผ่านกระบวนการบีบอัดเพื่อลดความชื้นก่อนนำไปเผา
4.สิ่งเจือปน : ในชีวมวลมีสิ่งเจือปนหลายชนิด เช่น เศษหิน ดิน
5. ปริมาณขี้เถ้า : การออกแบบห้องเผาไหม้จะต้องพิจารณาถึงการรวบรวมขี้เถ้าออกจากห้องเผาไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล
ข้อดี -
ข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล
ข้อดี
1.ใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุหรือใช้ทางการเกษตร
จึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก
2.เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีกำมะถันต่ำกว่าเชื้อเพลิง
ฟอสซิล และไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
3.ช่วยสร้างงานในพื้นที่และก่อให้เกิดรายได้กับชุมชนผ่านทางภาษีท้องที่
4.เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากเศษวัสดุการเกษตรที่เคยทิ้ง กลับมามีราคาขายได้
5.สร้างความมั่นคงต่อระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าพลังชีวมวลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วประเทศ ลดปัญหาไฟตกไฟดับ
ข้อจำกัด
1.ชีวมวลเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากการแปรรูปทางการเกษตร ทำให้มีปริมาณที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ การบริหารจัดการเชื้อเพลิงทำได้ยาก
2.ราคาชีวมวลแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3.ชีวมวลประเภทแกลบ หรือชานอ้อย ซึ่งเป็นชีวมวลที่ได้รับความนิยมและมีต้นทุนการจัดการต่ำ มีศักยภาพเหลืออยู่ไม่มาก
4.ชีวมวลที่มีศักยภาพเหลืออยู่ มักจะอยู่กระจัดกระจาย มีความชื้นสูงจึงทำให้ต้นทุน การผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น เช่น ใบอ้อยและยอดอ้อย ทะลายปาล์ม เป็นต้น
5.ถ้าไม่สามารถจัดการกับปริมาณก๊าซเสียที่ออกมาจากโรงงานได้อาจเกิดมลพิษให้กับชุมชนได้ เช่น ฝุ่น ผงเถ้าถ่าน ก๊าซที่เป็นต้นเหตุของสภาวะเรือนกระจก
6.ถ้าจัดเก็บชีวมวลไมดีอาจส่งกลิ่นรบกวนชุมชนบริเวณข้างเคียงได้
ตัวอย่างโรงไฟฟ้าจากชีวมวล
โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน
โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแกลบ กำลังการผลิต 9.90เมกกะวัตต์
(ที่มาจากwww.egco.com/th/corperate_profile_busin_group_roiet_green.asp)
(ที่มาจากwww.egco.com/th/corperate_profile_busin_group_roiet_green.asp)
(แหล่งข้อมูล:
ทีมงานโครงการส่งเสริมพลังงานทางเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทีมงานโครงการส่งเสริมพลังงานทางเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน
www.egco.co.th
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น